วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การอ่านค่าความต้านทาน

การอ่านค่าความต้านทาน

การอ่านค่าความต้นทานนั้นอ่านตามหน่วยของความต้านทาน ( Unit of Resistance) โดยอ่านตามค่าความต้านทานที่แสดงไว้บนตัวเลขและตัวอักษรรวมกัน แบ่งการแสดงค่าออกเป็น 2 แบบ คือแบบแสดงค่าความต้านทานโดยตรงและแบบแสดงค่าความต้านทานเป็นรหัส ซึ่งอาจเป็นรหัสสีของตัวต้านทานแต่ละวิธีการอ่านมีดังนี้
การอ่านค่ารหัสสีของตัวต้านทานมีอยู่ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 อ่านจากค่าพิมพ์ที่ติดไว้บนตัวต้านทาน โดยจะบอกเป็นค่าความต้านทาน ค่าเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาด และอัตราทดกำลังไฟฟ้า ซึ่งส่วนมาจะเป็นตัวต้านทานที่มีขนาดใหญ่ เช่นตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ ตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนแปรค่าได้ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
วิธีที่ 2 อ่านจากค่ารหัสสีของตัวต้านทาน (Resistor Colour Code)ซึ่งส่วนมากจะเป็นตัวต้านทานคาร์บอน ฟิล์มคาร์บอน ฟิล์มโลหะ และแบบไวร์วาวด์ที่มีขนาดเล็ก

การอ่านค่าความต้านทานที่เป็นรหัสสี จะแบ่งลักษณะการอ่านได้เป็น 2 แบบคือ
1. ระบบตัวหัวจุก (Body – End – Dot System) คือตัวต้านทานที่มีการต่อขาใช้งานในแนวรัศมี
หรือทาด้านข้างของตัวต้านทาน

2. ระบบหัวถึงปลาย (End – To – Center Band System) คือ ตัวต้านทานที่มีลักษณะการต่อขาใช้งานตามความยาวของตัวต้านทาน


ตาราง ค่ารหัสสีตัวต้านทาน

1. การอ่านรหัสสีตัวต้านทานระบบตัวหัวจุด
ตัวต้านทานชนิดนี้ตัวมันจะมีสีเดียวกันตลอด และมีการแต้มสีไว้บนที่ด้านหัวและตรงกลาง ซึ่งอาจจะทำเป็นจุดสีหรือทาสีไว้โดยรอบตัวต้านทาน




รูปแสดง วิธีการอ่านรหัสสีตัวต้านทานระบบตัวหัวจุด

วิธีการอ่านรหัสสีตัวต้านทานระบบตัวหัวจุด ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ 1พิจารณาสีพื้นของตัวต้านทานจะเป็นแถบสีที่ 1 (ตัวเลขที่ 1 )
2สีแต้มที่ปลายด้านหัวที่ไม่ใช่สีน้ำเงินและสีทอง จะเป็นแถบสีที่ 2 (ตัวเลขที่ 2 )
3สีแต้มหรือจุดสีที่อยู่ตรงกลางตัวต้านทานจะเป็นแถบสีที่ 3 (ตัวคูณ)
4สีที่ปลายด้านท้ายที่เป็นสีเงิน สีทองหรือไม่มีสี จะเป็นแถบสีที่ 4 ( +_ % ค่าผิดพลาด)ในการการอ่านรหัสสีตัวต้านทานระบบตัวหัวจุด จะมีทั้งแบบ 3 หรือ 4 แถบสี ซึ่งจะมีวิธีการอ่านที่เหมือนกัน และใช้ค่ารหัสสีตัวต้านทานใน


2. การอ่านรหัสสีของตัวต้านทานระบบหัวถึงปลาย

ตัวต้านทานบางแบบนิยมแสดงค่าความต้านทานไว้เป็นแถบสีโดยใช้สีที่เป็นมาตรฐานกำหนดแทนตัวเลขซึ่งแทนทั้งค่าความต้านทานและค่าความผิดพลาด แถบสีที่ใช้แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบ 4 แถบสี และแบบ 5 แถบสี
การอ่านค่าแถบสีเป็นค่าความต้านทานและค่าผิดพลาด ต้องเปลี่ยนแถบสีที่ทำกำกับไว้เป็นตัวเลขทั้งหมด แทนค่าตัวเลขให้ถูกต้องตามค่าตัวตั้ง ค่าตัวคูณ และค่าผิดพลาด ตามมาตรฐานที่กำหนด จะได้ค่าความต้านทานและค่าผิดพลาดของตัวต้านทานตัวนั้นออกมา


แบบ 4 แถบสี

ตัวต้านทานแบบ 4 แถบสี มีแถบสีแสดงบนตัวต้านทาน 4 แถบ การอ่านค่า ให้อ่านแถบสีที่อยู่ใกล้ขาตัวต้านทานมากที่สุดเป็นแถบสีที่ 1 แถบสีต่อมาเป็นแถบสีที่ 2 ทั้ง 2 แถบสีแทนค่าเป็นตัวเลขแล้วอ่านได้โดยตรง ส่วนแถบสีต่อมาเป็นแถบสีที่ 3 เป็นแถบสีตัวคูณหรือจำนวนเลขศูนย์ (0) ที่ต้องเติมเข้าไป และแถบสีต่อมาเป็นแถบสีที่ 4 เป็นแถบสีแสดงค่าผิดพลาด แสดงดังตาราง ค่ารหัสสีตัวต้านทาน


ตัวอย่าง 1


ตัวอย่างที่ 2


แบบ 5 แถบสี
ตัวต้านทานแบบ 5 แถบสีจะมีแถบสีแสดงบนตัวต้านทาน 5 แถบ การอ่านค่า ให้อ่านแถบสีที่อยู่ใกล้ตัวต้านทานมากที่สุดเป็นแถบสีที่ 1 เรียงลำดับเข้ามาเป็นแถบสีที่ 2 และแถบสีที่ 3 ทั้ง 3 แถบสิ่งที่เป็นตัวเลขสามารถอ่านค่าได้โดยตรง ส่วนแถบสีที่ 4 เป็นตัวคูณหรือจำนวนเลขศูนย์ (0) ที่ต้องเติมเข้าไป และแถบสีที่ 5 เป็นค่าผิดพลาด แสดงดังตารางที่ 2

ตารางตัวอย่างตัวต้านทานแบบ 5 แถบสี








แหล่งอ้างอิง
http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/note/content3.html

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Cycle Power Plant)


ลักษณะการทำงาน โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม เป็นการนำเอาเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ และโรไฟฟ้าพลังไอน้ำมาใช้งานเป็นระบบร่วมกัน โดยการนำไอเสียจากโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ ซึ่งมีความร้อนสูง (ประมาณ 500 องศาเซลเซียส) ไปผ่านหม้อน้ำ(Heat Recovery Steam Generator) และถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำ ทำให้น้ำเดือดกลายเป็นไอ เพื่อขับกังหันไอน้ำ สำหรับผลิตพลังงานไฟฟ้าต่อไป โดยทั่วไปโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะประกอบด้วยเครื่องกังหันก๊าซ 1 – 4 เครื่องร่วมกับกังหันไอน้ำ1 เครื่อง โดยมีประสิทธิภาพรวม 40-45% มีอายุการใช้งานประมาณ 20 ปี และใช้เป็นโรงไฟฟ้าผลิตพลังงานปานกลางถึงระดับฐาน(Medium to Base Load Plant)




ส่วนประกอบที่สำคัญ
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ เครื่องกังหันก๊าซ(เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ) หม้อน้ำ(Waste Heat Boiler หรือ Heat Recovery Load Generator) และเครื่องกังหันไอน้ำ (เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ)
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม สามารถแยกประเภทตามลักษณะของหม้อน้ำ ได้เป็นแบบ Unfired Type และFired Typeซึ่งยังแบ่งออกเป็น Supplementary Fired และ Exhaust Fired ลักษณะการใช้เชื้อเพลิงของหม้อน้ำชนิดต่างๆของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมชนิดหม้อน้ำแบบ Unfired เป็นชนิดที่ไม่มีการใช้เชื้อเพลิง เพื่อการเผาไหม้ในหม้อน้ำแต่ใช้ไอเสียจากกังหันก๊าซเพียงอย่างเดียวโรงไฟฟ้าประเภทนี้กำลังผลิประมาณ 70 % จะเป็นกำลังผลิตจากเครื่องกังหันก๊าซและอีกประมาณ 30% จะเป็นกำลังผลิตจากเครื่องกังหันไอน้ำ
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมชนิดหม้อน้ำแบบ Supplementary Fired มีการใช้เชื้อเพลิงเผาไหม้ในหม้อน้ำเพิ่มกำลังผลิตผลิตของกังหันไอน้ำให้ประมาณ 50% ของกำลังผลิตทั้งหมดโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมชนิดหม้อน้ำแบบ Exhaust Fired เพิ่มระบบเชื้อเพลิงและการเผาไหม้ให้มากขึ้นอีก เพื่อใช้ประโยชน์จากการเผาไหม้อ๊อกซิเจนที่เหลืออยู่ในไอเสีย จากเครื่องกังหันก๊าซให้เต็มที่ ซึ่งจะเพิ่มกำลังผลิตจากกังหันไอน้ำให้สูงถึงประมาณ 80% ของกำลังผลิตทั้งหมด

แหล่งที่มา
(http://prinfo.egat.co.th/combined.html)


วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พลังงานนิวเคลียร์

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
( Nuclear Power Plant )

ปัจจุบันพลังงานนิวเคลียร์มีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากพลังงานนิวเคลียร์ให้พลังงานความร้อนมหาศาลสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ตลอดจนในวงการแพทย์ด้วย ประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศได้เล็งเห็นความสำคัญของพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อที่จะนำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อรองรับการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการกำลังไฟฟ้า สูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งโรงไฟฟ้าแบบอื่น ๆ มักมีขีดจำกัดในการผลิตกำลังไฟฟ้า
โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ ได้รับการพัฒนามานานกว่า 40 ปีแล้ว โดยโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แห่งแรกของโลก ได้สร้างขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ เมื่อราวปีพุทธศักราช 2493 ในปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลกประมาณไม่น้อยกว่า 270 แห่ง ใน 30 ประเทศ รวมกำลังผลิต 152,800 เมกกะวัตต์ และอีกประมาณ 240 แห่ง กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง รวมกำลังผลิต 223,000 เมกกะวัตต์ การนำพลังงานนิวเคลียร์มาทดแทนเชื้อเพลิงธรรมชาติ (fossil fuel resource) ที่มีอยู่จำกัด และกำลังจะหมดลงในเวลาไม่นาน จะช่วยประหยัด ทรัพยากรอันมีค่านี้ไว้ใช้ประโยชน์อย่างอื่นที่จำเป็นแก่การดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งยังไม่อาจหาสิ่งอื่นใดมาทดแทนได้ คาดว่าพลังงานนิวเคลียร์จะยังคงเป็นแหล่งพลังงานที่ดี และการใช้จะมีการขยายตัวต่อไปในอนาคต แต่ก็มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในลักษณะเดียวกับอุตสาหกรรมอื่นที่คล้ายคลึงกัน


ลักษณะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกชื่อตามประเภทของเชื้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า ทั้งนี้ต้นกำเนิดพลังงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะอาศัยพลังความร้อนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาการแตกตัวของธาตุยูเรเนียม แล้วนำไปใช้ในกระบวนการผลิตไอน้ำที่ใช้ในการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า


รูปแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยทั่วไปประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก อาคารปฏิกรณ์ อาคารกังหันและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอาคารอุปกรณ์ประกอบ รวมถึงบางแห่งอาจมีหอระบายความร้อน (Cooling Tower) ด้วย

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลกมี 3 แบบ ได้แก่

- แบบน้ำเดือด (Boiling Water Reactor – BWR)
- แบบความดันสูง (Pressurized Water Reactor –PWR)
- แบบแคนดู (CANDU)
กระบวนการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์



หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบน้ำเดือด ระบบผลิตไอน้ำเป็นแบบวงจรเดียว ความดันภายในหม้อปฏิกรณ์ประมาณ 6 – 9 ล้านปาสกาล อุณหภูมิน้ำประมาณ 285 องศาเซลเซียส ไอน้ำจะถูกส่งไปกังหันโดยตรงเพื่อผลิตไฟฟ้า

หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบความดันสูง ระบบผลิตไอน้ำเป็นแบบสองวงจร ความดันภายในหม้อปฏิกรณ์ประมาณ 15.6 ล้านปาสกาล อุณหภูมิน้ำสูง ประมาณ 315 องศาเซลเซียส แต่ไม่เดือดเป็นไอเนื่องจากถูกควบคุมด้วยเครื่องอัดความดัน น้ำร้อนจะถูกส่งไปยังเครื่องผลิตไอน้ำเพื่อทำให้น้ำในอีกวงจรหนึ่งเดือด ไอน้ำจะถูกส่งไปยังกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้า





หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบแคนดู ระบบผลิตไอน้ำเป็นแบบสองวงจร แต่ใช้น้ำหนักมวล (Heavy water,D2O) แทนน้ำธรรมดา น้ำหนักมวลในท่อเชื้อเพลิงมีความดันประมาณ 10 ล้านปาสกาล มีอุณหภูมิสูงประมาณ 310 องศาเซลเซียส แต่ไม่เดือดเป็นไอเนื่องจากถูกควบคุมด้วยเครื่องอัดความดันน้ำร้อนจะถูกส่งไปยังเครื่องผลิตไอน้ำเพื่อทำให้น้ำในอีกวงจรหนึ่งเดือด ไอน้ำไปยังกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้า



เศรษฐศาสตร์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แม้จะใช้เงินลงทุนก่อสร้างสูงกว่าโรงไฟฟ้าพลังความร้อนชนิดอื่น อันเนื่องจากมาตรการความปลอดภัยหลายชั้นและใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานสูงมาก แต่ได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิตต่อหน่วยถูกกว่า เนื่องราคาค่าเชื้อเพลิงต่ำและไม่ผันผวนเช่นเดียวกับน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ความปลอดภัย มาตรฐานความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นไปตามมาตรฐานของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) โดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อสาธารณชนและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ อาทิ ใช้เชื้อเพลิงยูเรเนียมที่มีความเข้มข้นต่ำ และปฏิกรณ์ได้รับการออกแบบให้ทำงานเฉพาะในสภาวะปฏิกิริยาแตกตัวคงที่เท่านั้นไม่สามารถเกิดการระเบิดในลักษณะเดียวกับระเบิดปรมาณู มีส่วนปิดกั้นรังสีหลายชั้น และมีระบบป้องกันฉุกเฉิน

กากกัมมันตรังสี พลังงานนิวเคลียร์เป็นเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าที่คำนึงถึงการเก็บกำจัดของเสียจากกระบวนการผลิตและนำค่าใช้จ่ายเข้ารวมไว้ในต้นทุนการดำเนินการทั้งหมดแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนอื่น ๆ รวมทั้งมีกากกัมมันตรังสี ปริมาณน้อย นอกจากนี้เชื้อเพลิงใช้แล้วยังอาจนำไปสกัดใช้ใหม่ได้หรือสามารถเก็บไว้ในตัวโรงไฟฟ้าจนกว่าจะมีนโยบายการกำจัดในรูปแบบอื่น ๆ ตลอดอายุการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ จะมีกากกัมมันตรังสีต่ำประมาณ 9,000 – 30,000 ถัง (ขนาด 200 ลิตร) ส่วนกากกัมมันตรังสีสูงคงอยู่ในมัดเชื้อเพลิงที่ผ่านการผลิตไฟฟ้าแล้ว

เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ คือ แร่ยูเรเนียมที่ผ่านการแปรสภาพองค์ประกอบ ทำให้เป็นเม็ดและประกอบเป็นแท่งมัดรวมกันเพื่อนำไปใช้ในปฏิกรณ์ กำหนดการเปลี่ยนเชื้อเพลิงใหม่อาจกระทำเป็นรายวัน เช่น ในปฏิกรณ์แบบแคนดู หรือรายปี เช่นในปฏิกรณ์แบบ BWR และ PWR ยูเรเนียม-235 เพียงหนึ่งกรัมให้ความร้อนเทียบเท่าถ่านหินชั้นดี 3 ตัน หากใช้ครั้งเดียวยูเรเนียมที่ใช้ในโรงไฟฟ้าขนาด 1,000 เมกะวัตต์ จะมีอัตราสิ้นเปลืองประมาณ 30 ตันต่อปี


สิ่งแวดล้อม โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับต่ำ เนื่องจากปลอดก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซที่เป็นภัยต่อสุขภาพ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ นอกจากนั้น ตามกฎเกณฑ์มาตรฐานกำหนดให้อุณหภูมิน้ำที่เข้าไปรับความร้อนจากเครื่องควบแน่น เมื่อวัด ณ จุดระบาย ยังไม่แตกต่างไปจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนอื่น ในการเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดกำลังผลิต 1,000 เมกะวัตต์ เป็นเวลาหนึ่งปีจะมีเชื้อเพลิงใช้แล้วประมาณ 8 – 20 ลูกบาศก์เมตร สามารถเก็บโดยแช่ในสระน้ำได้หากยังไม่มีนโยบายสกัดเชื้อเพลิงกลับมาใช้อีก




จำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลก ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency – IAEA) รายงานว่าเมื่อสิ้นปี 2549 ทั่วโลกมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เดินเครื่องอยู่ 437 หน่วย กำลังการผลิตรวม 265,800 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 ของไฟฟ้าที่ผลิตทั้งหมด
2. ไอโซโตป ( isotopes )
คุณสมบัติทางเคมีของอะตอมนั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนโปรตอนในนิวเคลียส แต่อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีมวลเท่ากันเสมอไป ซึ่งเรียกอะตอมของธาตุเดียวกัน แต่มีมวลต่างกันว่า “ไอโซโตป” ธาตุเป็นจำนวนมากในธรรมชาติมีไอโซโตปได้หลายไอโซโตป เช่น ไฮโดรเจน คาร์บอน ยูเรเนียม ฯลฯ ธาตุแต่ละชนิดจะมีเลขอะตอม หรือจำนวนโปรตอนแน่นอนตายตัว ถ้าจำนวนโปรตอนเปลี่ยนไปก็จะเปลี่ยนเป็นธาตุอื่น อะตอมที่เป็นกลางมีจำนวนโปรตอนเท่ากับอีเล็กตรอน ดังนั้นการที่ธาตุหรืออะตอมชนิดเดียวกัน แต่มีมวลแตกต่างกัน แสดงว่าต้องมีสาเหตุมาจากธาตุนั้นมีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน
การเขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุสามารถเขียนได้ดังนี้
zXA
ให้ A แทนเลขมวล (mass number) ซึ่งคือ ผลบวกของจำนวนโปรตอน และนิวตรอนของอะตอมนั้น
X แทนสัญลักษณ์ของธาตุ
Z แทนเลขอะตอม (atomic number) ซึ่งเท่ากับจำนวนโปรตอน
ดังนั้นจำนวนนิวตรอนของอะตอมจึงเท่ากับ A-Z เช่น ธาตุยูเรเนียม มีเลขอะตอมเท่ากับ 92 และไอโซโตปหนึ่งของยูเรเนียมนี้มีเลขมวลเท่ากับ 238 สัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุยูเรเนียมเขียนได้ดังนี้
92U238
จำนวนนิวตรอนของไอโซโตปนี้คือ 238-92 = 146

3.ปฏิกริยาอะตอม
ปฎิกริยาอะตอมที่เกิดขึ้น และให้พลังงานความร้อนที่นำไปใช้ประโยชน์นั้น แบ่งออกเป็นสองแบบคือ
1. ปฎิกริยาทางเคมี เป็นปฎิกริยาที่เกิดจากการรวมตัวกันของอะตอม 2 อะตอมหรือมากว่า หรืออาจเกิดจากการแตกตัวออกของอะตอมทั้งหมด โดยการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนที่หมุนในวงโคจร โดยนิวเคลียสของอะตอมที่มารวมกันไม่มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่ออกมาหรือที่รับเข้าไปเมื่อเกิดปฎิกริยาก็เกิดจากการรวมตัวหรือแตกตัวของอะตอมนั่นเอง ที่สำคัญคือ มวลทั้งหมดของสาร หรือธาตุที่เกิดปฎิกริยาทางเคมีจะยังคงเท่าเดิม หลังจากที่เกิดปฎิกริยาแล้ว ตัวอย่างของปฎิกริยาทางเคมี ได้แก่ การเผาเชื้อเพลิง ถ่านหิน หรือการลุกไหม้ของก๊าซหุงต้ม เป็นต้น
2. ปฎิกริยานิวเคลียร์ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ ปฎิกริยานิวเคลียร์ฟิวชัน (nuclear fusion) คือ การหลอมนิวเคลียสที่มีน้ำหนักอะตอมต่ำ เข้าเป็นนิวเคลียสที่มีน้ำหนักอะตอมสูงขึ้น และคายพลังงานมหาศาลออกมา อีกลักษณะหนึ่งได้แก่ ปฎิกริยานิวเคลียร์ฟิสชัน (nuclear fission) คือ นิวเคลียสที่มีน้ำหนักอะตอมสูง ถูกระดมยิงด้วยอนุภาคนิวตรอน แยกเป็นส่วนที่เล็กลง หรือเป็นธาตุใหม่เกิดขึ้น และคายพลังงานมหาศาลออกมาเช่นเดียวกัน

4. พลังงานยึดเหนี่ยวนิวเคลียร์
การที่อนุภาคโปรตอน และนิวตรอนยึดตัวรวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งเรียกว่า นิวเคลียสนั้น เมื่อเรานำเอามวลของอนุภาคทั้งสองมารวมกัน จึงน่าจะเป็นมวลทั้งหมดของนิวเคลียส แต่ตามความเป็นจริงแล้ว มวลของนิวเคลียส จะน้อยกว่าผลบวกของมวลของโปรตอนและนิวตรอน และอิเล็กตรอน ที่ประกอบเป็นนิวเคลียสนั้น เช่น ฮีเลียม (2H4e) ประกอบด้วยโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน อย่างละ 2 อนุภาค ดังนั้นมวลทั้งหมดของฮีเลียมที่คำนวณได้คือ (2x1.00728)+(2x1.00867)+(2x0.00055) = 4.033 amu. แต่มวลที่แท้จริงของฮีเลียมที่วัดได้คือ 4.0026 amu. ดังนั้นมวลที่ขาดหายไปเท่ากับมวลที่คำนวณได้ลบด้วยมวลที่แท้จริง = 4.033-4.0026 = 0.0304 amu.
อนุภาคต่าง ๆ ในนิวเคลียสอยู่ด้วยกันอย่างเสถียรโดยแรงดึงดูดที่แรงมาก การแยกอนุภาคต่าง ๆ ในนิวเคลียสออกจากกันและกัน จะต้องให้พลังงานอันมหาศาลแก่นิวเคลียสนั้น และการที่โปรตอน และนิวตรอน รวมตัวกันเกิดเป็นนิวเคลียส พลังงานที่มีปริมาณเท่ากันนี้จะต้องถูกคายออกมา
พลังงานที่คายออกมาเมื่ออนุภาคต่าง ๆ รวมตัวกันเป็นนิวเคลียส เกิดจากการเปลี่ยนมวลบางส่วนไปเป็นพลังงาน ดังนั้นมวลของนิวเคลียสที่แท้จริง จึงน้อยกว่ามวลที่คำนวณได้ พลังงานที่ต้องใช้เพื่อสลายนิวเคลียส หรือพลังงานที่คายออกมาเมื่ออนุภาคต่าง ๆ รวมเข้าด้วยกันเป็นนิวเคลียส เรียกว่า พลังงานยึดเหนี่ยวนิวเคลียส (nuclearing binding energy)
มวลของ 2H4e ที่ขาดหายไป สามารถแปรเป็นพลังงานโดยใช้สมการไอสไตน์คือ
E = mc2
เมื่อ E = พลังงาน
M = มวลที่เปลี่ยนแปลงไป
C = ความเร็วของแสง = 2.9979x1010 ชม./วินาที
. . . E = 0.0304x(2.9979x1010)22
= 2.73x1019 กรัม ชม.2/วินาที2
= 2.73x109 กิโลจูล/โมล.
หมายเหตุ : 1 เอิร์ก = 1 กรัม ชม.2/วินาที2
1 จูล = 107 เอิร์ก
1 กิโลจูล = 103 จูล


5. พลังงานนิวเคลียร์ฟิสชัน
พลังงานที่เกิดจากปฎิกริยานิวเคลียร์ฟิสชัน เกิดจากการระดมยิ่ง 92U235 ด้วยนิวตรอน ทำให้เกิดการแตกตัวออกที่ความเร็วต่าง ๆ ได้สองไอโซโตปที่มีเลขอะตอมต่ำกว่าคือ แบเรียม และคริปทอน กระบวนการนี้จะคายพลังงานออกมามากมายมหาศาล
พลังงานเฉลี่ยที่ได้จากปฏิกริยาฟิสชันแต่ละครั้งเท่ากับ 3.2x10-4 เอิร์ก หรือ 200 เม็กกะอิเล็กตรอนโวลท์ (mega electron volt = Mev.) หรือ 7.65x10-12 คาลอรี ถ้าเปรียบเทียบการเผาไหม้ของคาร์บอน 1 กรัม ซึ่งคายความร้อยออกมาเท่ากับ 7.83 กิโลคาลอรี กับพลังงานความร้อนที่คายโดย U235 1 กรัม เท่ากับ 1.96x107 กิโลคาลอรี จะเห็นว่าเป็นปริมาณที่มากกว่ามหาศาลทีเดียว
เนื่องจากการแตกตัวของ U235 หนึ่งไอโซโตป ให้นิวตรอน 2-3 ตัว และโดยที่นิวตรอนเป็นสารตั้งต้นหนึ่งในกระบวนการฟิสชัน ดังนั้นทันทีที่เกิดปฎิกริยาฟิสชันขึ้น นิวตรอนที่ให้ออกมาจะไปทำให้ U235 2-3 ตัว แตกตัวออกให้นิวตรอนเพิ่มมากขึ้นอีกเป็น ปฏิกริยาลูกโซ่ไปเรื่อย ๆ ดังแสดงในรูปที่ 1 จำนวนการแตกตัวจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและคายความร้อนออกมาอย่างมหาศาล ถ้าไม่มีการควบคุม พลังงานที่สะสมไว้จะดันให้เกิดการระเบิด นั่นก็คือ พื้นฐานของระเบิดปรมาณูนั่นเอง ดังนั้นจึงต้องมีวิธีการควบคุมพลังงานความร้อนที่คายออกมา เครื่องมือที่ออกแบบเพื่อให้ปฎิกริยาฟิสชันสามารถเกิดขึ้นได้ และขณะเดียวกันก็สามารถควบคุมปริมาณความร้อนที่คายออกมาได้คือ เตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ (nuclear reactor)
กระบวนการฟิสชันที่เกิดกับ 92U235 มีหลายกระบวนการด้วยกันแต่ละกระบวนการต่างให้ผลิตผลที่แตกต่างกัน จำนวนนิวตรอนที่ปล่อยออกมา อาจเป็นหนึ่ง สอง หรือสามก็ได้ ตัวอย่างกระบวนการแตกตัวของ 92U235 โดยนิวตรอนมีดังนี้
92U235 + 0n1 – 56Ba137 + 36Kr97 + 20n1
92U235 + 0n1 – 56Ba137 + 36Kr94 + 30n1
92U235 + 0n1 – 38Ba90 + 54Xe143 + 30n1
92U235 + 0n1 – 35Br90 + 57La143 + 30n1

6. พลังงานนิวเคลียร์ฟิวชัน
พลังงานที่เกิดจากปฎิกริยานิวเคลียร์ฟิวชัน เกิดจากการนำไอโซโตป 2 ไอโซโตป ที่มีน้ำหนักอะตอมต่ำมาหลอมเข้าด้วยกัน เกิดผลิตผลใหม่ที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็คายความร้อน หรือพลังงานอันมหาศาลออกมา ซึ่งเป็นปฎิกริยาที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ ปฏิกริยานี้เรียกว่า เทอร์โมนิวเคลียร์ (thermonuclear) คือ นิวเคลียสของไฮโดรเจนสี่นิวเคลียส รวมตัวกันเป็นฮีเลียม หนึ่งนิวเคลียส แต่ปฏิกริยาฟิวชันที่มนุษย์ทำขึ้นมา คือ การรวมตัวกันของดิวทีเลียมสองอะตอมเป็นฮีเลียมหนึ่งอะตอม ซึ่งสามารถทำได้ง่ายใช้เวลาน้อย
การนำเอานิวเคลียสนิวเคลียสมาหลอมเข้าด้วยกัน จะต้องใช้พลังงานกระตุ้นสูงมากเพื่อะเอาชนะแรงผลักกันระหว่างนิวเคลียส ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ที่อุณหภูมิสูงมากประมาณสองร้อยล้านองศาเซลเซียส (อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของดวงอาทิตย์เท่ากับสี่ล้านองศาเซลเซียส) แต่พลังงานที่คายออกมาต่อหน่วยมวลในกระบวนการฟิวชันมากกว่ากระบวนการฟิสชันมาก ดังนั้น ปฎิกริยาฟิสชันจึงเปรียบเสมือนปฎิกริยาชนวน ซึ่งเมื่อเกิดแล้ว ทำให้ปฎิกริยาอื่น ๆ เกิดตามมาเป็นปฎิกริยาลูกโซ่ และเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง ถ้าขาดการควบคุมการนำเอาพลังงานจากปฎิกริยาฟิวชันมาใช้เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า ถ้าทำได้จะเป็นวิธีที่ดีกว่ากระบวนการฟิวชันที่ใช้ในปัจจุบัน เพราะได้พลังงานความร้อนมากกว่า ผลิตผลจากกระบวนการฟิวชันไม่เป็นกัมมันตรังสี ไม่มีปัญหาเรื่องกากกัมมันตรังสี แต่ที่เป็นปัญหาคือ ไม่สามารถหาห้องหรือถังที่ใช้ทำปฎิกริยา ซึ่งสามารถทนต่อความร้อนที่สูงสองร้อยล้านองศาเซลเซียสได้

7. พลังงานนิวตรอน
หลังจากที่เกิดปฏิกริยาฟิสชัน จะมีสารใหม่ที่เกิดขึ้นที่น้ำหนักไม่เท่ากัน เช่น แบเรียม (Ba), คริปทอน (Kr), สทรอนเชียม (Sr), ซีนอน (Xe), โบรมีน (Br), แลนทานัม (La) เป็นต้น สารต่าง ๆ เหล่านี้เรียกว่า ฟิสชันแฟรกเมนต์ (fission fragment) และจะมีนิวตรอน 2-3 ตัว ถูกปล่อยออกมามีความเร็วต่าง ๆ กัน ฟิสชันแฟรกเมนต์จะถูกเปลี่ยนไปเป็นไอโซโตปชนิดอื่น เนื่องจากการลดลงของรังสี กลายเป็นฟิสชันโปรดัค (fission produxt) ซึ่งเป็นของเสีย และยังมีกัมมันตรังสีที่เป็นอันตรายอยู่จะต้องมีระบบการกำจัดที่ดี
นิวตรอนที่ถูกปล่อยออกมาภายหลังเกิดปฎิกริยาฟิสชันจะมีความเร็วโดยเฉลี่ยประมาณ 2.9979x109 ชม./วินาที ซึ่งให้พลังงานจลน์สูงมาก เมื่อมันชนกับนิวเคลียสของวัสดุที่ทำเชื้อเพลิง ความเร็วจะลดลง ความเร็วของนิวตรอนแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ความเร็วสูง ปานกลาง และต่ำ พลังงานจลน์ต่ำสุดที่นิวตรอนมีคือ พลังงานที่ใช้ในการไปรวมกับอะตอมและโมเลกุล
สารที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติคือ ยูเรเนียม (U238) และทอเรียม (TH232) มักใช้ไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากต้องใช้นิวตรอนที่มีความเร็วสูงมาก จึงจะเกิด ปฎิกริยาต่อเนื่อง และนิวตรอนส่วนมากาจะถูกนิวเคลียสของ U238 จับไว้ ทำให้ไม่เกิด ปฎิกริยาต่อไป
ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมสารเชื้อเพลงใหม่ โดยการเปลี่ยนไอโซโตป หรือโครงสร้างของสารเชื้อเพลิงธรรมชาติ U238 ให้เป็น U232 , U235 หรือ พลูโทเนียม (Pu239) เพราะไอโซโตป เหล่านี้สามารถเกิดปฎิกริยาฟิสชันได้อย่างต่อเนื่อง ใช้ได้กับนิวตรอนที่มีความเร็วทุกระดับ โดยเฉพาะถ้านิวตรอนมีความเร็วต่ำลง โอกาสที่จะทำปฎิกริยากับนิวเคลียสของอะตอมก็มีมากขึ้น

8. สารหน่วงนิวตรอน ( moderator )
การที่จะทำให้นิวตรอนมีความเร็วลดลง เพื่อทำให้เกิดปฎิกริยาฟิสชันได้ดี ทำได้โดยแบ่งเชื้อเพลิงออกมาเป็นส่วนเล็ก ๆ เช่น เป็นแท่ง เป็นแผ่น หรือทรงกระบอกกลวง เป็นต้น แล้วใส่สารลงไปในช่องว่างที่แบ่งเป็นส่วนเล็ก ๆ นี้ สารนี้คือ สารหน่วงนิวตรอน (moderator)
นิวตรอนที่แตกออกมาจากปฎิกริยาฟิสชัน จะออกจากเชื้อเพลิงเข้าไปในสารหน่วงนิวตรอน ความเร็วจะช้าลง เมื่อชนกับอะตอม หรือนิวเคลียสของสารที่ใช้เป็นตัวหน่วง แล้วกลับเข้าไปทำปฎิกริยา หรือชนกับ U235 ใหม่ และมีนิวตรอนบางตัวที่มีความเร็วสูง ถูกจับโดย U238
สารหน่วงนิวตรอนที่ดี จะต้องทำให้นิวตรอนมีความเร็วช้าลง เมื่อชนกับนิวเคลียสของมันเพียงไม่กี่ครั้ง ดังนั้น ขนาดของนิวเคลียสของสารหน่วง ควรมีขนาดใกล้เคียงกับขนาดของนิวตรอน จะเห็นว่านิวเคลียสของไฮโดรเจนมีขนาดประมาณเท่ากับขนาดของนิวตรอน น่าจะเป็นสารหน่วงที่ดี แต่เนื่องจากมันมีความหนาแน่นของนิวเคลียสน้อยนิวตรอนต้องเคลื่อนที่เป็นระยะทางไกลก่อนที่จะพบกับนิวเคลียสของสารหน่วง จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ ไฮโดรเจนและดิวทีเลียมที่เป็นส่วนหนึ่งในรูปของ ของเหลวและของแข็ง ใช้เป็นสารหน่วงได้ดี เช่น น้ำ, น้ำชนิดหนัก (heavy wate, D2O), ไฮโดรคาร์บอน, เชอร์โคเนียมไฮโดรด์, โพลีเอทีลีน เป็นต้น

9. โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นโรงจักรที่ใช้เครื่องกังหันไอน้ำเช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ (stea turbine) แตกต่างกันที่ขบวนการให้ความร้อนกับน้ำเพื่อให้กำเนิดไอน้ำ โดยโรงไฟฟ้าพลังงาน นิวเคลียร์ได้รับพลังงานความร้อนจาก ปฎิกริยาฟิสชัน มีนิวตรอนที่ออกมา 2-3 ตัว และอนุภาคอื่น ๆ รวมทั้งการแผ่รังสีแกมม่า ทำให้พลังงานของมันเปลี่ยนเป็นความร้อน และความร้อนนี้จะถูกนำออกมาด้วยสารระบายความร้อน (coolant) ซึ่งขบวนการนำความร้อนออกมาเป็นสิ่งสำคัญมาก จะต้องมีการถ่ายโอนออกมาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการทำน้ำให้กลายเป็นไอน้ำ สำหรับหมุนกังหัน และหมุนขดลวดสนามแม่เหล็กของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต่อไป
องค์ประกอบที่สำคัญของเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์มีดังนี้
1. เชื้อเพลิง ส่วนมากจะเป็นยูเรเนียม (U235) ทำเป็นแผ่นหรือเป็นแท่ง หุ้มด้วยสารเซอร์โคเนียม (Zr) เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อเพลิงทำปฎิกริยาเคมีกับน้ำ
2. สารหน่วงนิวตรอน (moderator) เป็นตัวลดความเร็วของนิวตรอน ที่ได้จากการแบ่งแยกนิวเคลียสของ U235 ให้วิ่งช้าลงและเกิดปฎิกริยาต่อเนื่อง อาจเป็นคาร์บอนในรูปกราไฟท์ น้ำธรรมดา หรือสารอื่นที่เหมาะสม
3. แท่งควบคม (control rod) เป็นตัวหยุดปฎิกริยาลูกโซ่ ทำจากโลหะที่สามารถดูดนิวตรอนได้ เช่น แคดเนียม (Cadmium, Cd) หรือโบรอน (Boron, B) สามารถควบคุมอัตราการเกิดปฎิกริยาให้มากหรือน้อยได้ โดยความลึกของแท่งควบคุมที่หย่อนลงไปในสารหน่วงนิวตรอน
4. สารระบายความร้อนหรือทำให้เย็น (coolant) เป็นตัวนำความร้อนที่เกิดขึ้นในเตาปฎิกรณ์ไปใช้ในการทำไอน้ำ เพื่อเดินเครื่องกังหันไอน้ำ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า อาจเป็นน้ำ สารอินทรีย์ ก๊าซ หรือโลหะเหลว ก็ได้
5. กำแพงเตาหรือเครื่องกำลัง (shielding) เป็นตัวป้องกันการแพร่กระจายรังสีไม่ให้ออกไปภายนอก อาจทำเป็นเหล็กหรือคอนกรีตหนาหลาย ๆ ฟุต เพื่อห่อหุ้มเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์

10. เตาปฎิกรณ์แบบใช้น้ำความดันสูง (Pressurised Water Reactor)
เดิมเตาปฎิกรณ์ชนิดนี้เป็นเตาที่คิดขึ้นมาเพื่อใช้กับเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ ราคาจะต่ำกว่าแบบใช้ก๊าซระบายความร้อน แต่เปลืองเชื้อเพลิงมากกว่า ใช้น้ำเป็นสารระบายความร้อน และเป็นสารหน่วงนิวตรอนด้วย ใช้ยูเรเนียม U235 ที่มีความเข้มข้น 2-3 เปอร์เซ็นต์เป็นเชื้อเพลิง มีระบบถ่ายเทความร้อนจากเตาปฎิกรณ์ด้วยน้ำที่มีความดันสูงมาก ส่วนน้ำในวงจรที่สองจะรับความร้อนจากวงจรแรก แล้วกลายเป็นไอ เข้าสู่กังหันไอน้ำเพื่อขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต่อไป
เตาปฎิกรณ์แบบใช้น้ำความดันสูง สามารถใช้กับโรงไฟฟ้าที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 10-3,000 เมกกะวัตต์ ประกอบด้วยภาชนะทนแรงดัง (pressure vessel) ทำจากเหล็กกล้าผสมคาร์บอน แท่งควบคุม (control rod) และแท่งเชื้อเพลิง (fuel elements) อุปกรณ์ทั้งหมดจะอยู่ในอาคารคอนกรีตที่ก่อสร้างอย่างแข็งแรง และบุด้วยเหล็กกล้าเพื่อป้องกันรังสีรั่ว น้ำที่ใช้เป็นสารระบายความร้อน และสารหน่วงนิวตรอนจะมีความดันสูงประมาณ 1,200-2,700 ปอนด์ต่อตารางน้ำ อุณหภูมิประมาณ 450-600 องศาฟาเรนไฮท์ เนื่องจากอยู่ภายใต้ความดันสูงน้ำจึงไม่เดือด เมื่อน้ำนี้ไหลผ่านเข้าสู่หม้อน้ำหรือเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน ก็จะถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำอีกวงจรหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้ความกดดันของอากาศปกติ ทำให้น้ำนั้นเดือด ได้ไอน้ำที่มีความดันประมาณ 87-600 ปอนด์ต่อตารางน้ำ อุณหภูมิประมาณ 407-590 องศาฟาเรนไฮท์ นำไปหมุนกังหันเพื่อขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เมื่อไอน้ำถ่ายพลังงานให้กับกังหันแล้วก็จะไหลเข้าสู่หอระบายความร้อนหรือเครื่องควบแน่น (condenser) ถูกกลั่นกลับมาเป็นน้ำ และไหลกลับมาเข้าหม้อน้ำ เพื่อรับพลังงานความร้อนและเดือดกลายเป็นไอน้ำอีกวนเวียนอยู่อย่างนี้เรื่อยไป
ข้อดีของเตาปฎิกรณ์แบบนี้คือ น้ำมีคุณสมบัติทางด้านการถ่ายเทความร้อนได้ดี ราคาถูก หาได้ง่าย มีความปลอดภัยง่ายต่อการเตรียม การเหนี่ยวนำรังสีอยู่ในระดับต่ำและอยู่ได้ไม่นาน ส่วนข้อเสีย คือ น้ำที่มีอุณหภูมิสูง จะทำให้อุปกรณ์ที่ใช้มีการสึกกร่อน น้ำมีการดูดจับนิวตรอนบางส่วน ทำให้ปฎิกริยาฟิสชั่นลดน้อยลง ซึ่งเป็นเหตุทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพิ่มมากขึ้น อุปกรณ์ที่ใช้และภาชนะของเตาปฎิกรณ์มีราคาแพง เพราะาจะต้องสร้างให้มีความแข็งแรงทนต่อสภาวะความดันสูงของระบบการทำงาน
อันตรายของเตาปฎิกรณ์แบบนี้ อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่เกิดขัดข้องขึ้นในระบบระบายความร้อนโดยไม่สามารถนำความร้อนภายในเตาปฎิกรณ์ ออกมาสู่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนได้ อุณหภูมิภายในเตาปฎิกรณ์จะสูงมากจนหลอมละลาย จะต้องหยุดการทำงานของเตาปฎิกรณ์ทันที และมีระบบน้ำฉุกเฉินสำหรับระบายความร้อนออกไปโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการหลอมละลายที่จะเกิดขึ้น เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ชุดหนึ่งสามารถใช้งานได้ติดต่อกันประมาณ 1 ปี การเปลี่ยนเชื้อเพลิงใหม่จะกระทำเมื่อแท่งเชื้อเพลิงนั้นมีปริมาณยูเรเนียมเหลือน้อยลงจนถึงจุดที่ไม่สามารถใช้งานต่อไปได้ สำหรับโรงไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตของขนาด 1,000 เมกกะวัตต์ จะใช้ปริมาณเชื้อเพลิงยูเรเนียม ประมาณ 1.5 ตันต่อปี

11. เตาปฎิกรณ์แบบน้ำเดือด (Boiling Water Reactor)
เตาปฎิกรณ์แบบนี้ใช้น้ำเป็นสารระบายความร้อน และเป็นสารหน่วงนิวตรอนด้วย โดยการนำเอาการหมุนเวียนของน้ำมาใช้ประโยชน์ ข้อเสียของเตาปฎิกรณ์แบบนี้คือ อันตรายจากกัมมันตรังสีที่อาจปนมากับน้ำและไอน้ำ และมีการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของสารหน่วงนิวตรอน เนื่องจากส่วนบนเป็นไอน้ำ ส่วนล่างเป็นน้ำ ทำให้เกิดไม่เสถียรภาพทางด้านไฮโดรไดนามิคและนิวเคลียร์ ข้อดีคือ สามารถสร้างให้มีแรงดันภายในเตาปฎิกรณ์ได้สูงกว่า แบบใช้ก๊าซระบายความร้อน เชื้อเพลิงที่ใช้เป็นของแข็งได้แก่ ยูเรเนียมอ๊อกไซด์
เตาปฏิกรณ์แบบน้ำเดือดใช้กับโรงจักรไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 1 - 1,000 เมกกะวัตต์ อุณหภูมิของน้ำระบายความร้อนอยู่ระหว่าง 350-664 องศาฟาเรนไฮท์ ความดัน 115-2,150 ปอนด์/ตารางน้ำ อุณหภูมิของไอน้ำที่ใช้ขับเครื่องกังหันอยู่ระหว่าง 350-950 องศาฟาเร็นไฮท์ ความดัน 145-1,620 ปอนด์/ตารางนิ้ว
วงจรการทำงานของโรงจักรคือ น้ำที่เป็นสารระบายความร้อน เมื่อได้รับความร้อนจากปฎิกริยานิวเคลียร์ภายในเตาปฏิกรณ์ จะร้อนขึ้นจนเดือดกลายเป็นไอน้ำความดันสูง ถูกส่งออกมาจากเตาปฎิกรณ์ ผ่านลิ้นลดความดัน ผ่านเครื่องแยกไอน้ำเข้าสู่เครื่องกังหัน เมื่อขับเครื่องกังหันแล้ว ไอน้ำจะไหลเข้าสู่เครื่องควบแน่น เพื่อกลั่นตัวเป็นน้ำต่อจากนั้นปั๊มจะดูดน้ำจากเครื่องควบแน่น ลงมาผ่านเครื่องเพิ่มความร้อนให้น้ำเลี้ยงและมีปั๊มน้ำเลี้ยงความดันสูง ส่งน้ำเลี้ยงเข้าสู่หม้อน้ำ ภายในเตาปฎิกรณ์เพื่อรับความร้อนหมุนเวียนดังนี้ตลอดไป
ในโรงจักรไฟฟฟ้านิวเคลียร์เตาปฎิกรณ์แบบน้ำเดือดบางแห่งมีการจัดระบบการไหลของไอน้ำให้ทำงานเป็น 2 วงจร (ตามรูปที่ 6) คือ ในวงจรแรกจะใช้ความร้อนจากเตาปฎิกรณ์ต้มน้ำ ในดรัมตัวแรกให้เดือดกลายเป็นไอน้ำ แล้วส่งเข้าไปขับเครื่องกังหัน โดยผ่านลิ้นควบคุมแรงดัน น้ำร้อนในดรัมตัวแรก จะถูกปั๊มดูดลงมาผ่านเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน เพื่อถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำในวงจรที่สอง แล้วจึงไหลกลับเข้าสู่ดรัมตัวแรก เพื่อรับความร้อนใหม่ น้ำในวงจรที่สองเมื่อได้รับความร้อนจากเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนก็จะไหลเข้าสู่ดรัมตัวที่สอง แยกไอน้ำออกจากน้ำส่งเข้าขับเครื่องกังหันร่วมกับไอน้ำจากวงจรแรก เมื่อขับเครื่องกังหันแล้ว ไอน้ำจะไหลลงสู่เครื่องควบแน่นเพื่อกลั่นตัวเป็นน้ำ ต่อจากนั้นจะมีปั๊ม 2 ตัว ดูดน้ำจากเครื่องควบแน่น แยกกันเป็น 2 ทาง โดยจะเข้าทั้งวงจรแรก และวงจรที่สอง เพื่อกลับไปรับความร้อนจากดรัมตัวแรก และเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน ทำการผลิตไอน้ำอีกครั้ง วนเวียนดังนี้เรื่อยไป

12. เตาปฏิกรณ์แบบระบายความร้อนด้วยก๊าซ (gas cooled reactor)
เตาปฏิกรณ์แบบใช้ก๊าซเป็นสารระบายความร้อน อาจใช้ฮีเลียม, คาร์บอนได-ออกไซด์, หรือใช้อากาศธรรมดาก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะการออกแบบของเตาปฏิกรณ์แต่ละชนิด ส่วนสารหน่วงนิวตรอนจะใช้กราไฟท์ หรือน้ำชนิดหนัก (heavy water, D2O) ข้อดีของการใช้ก๊าซเป็นสารระบายความร้อนคือ หาได้ง่าย ราคาถูก มีความปลอดภัยสูงง่ายต่อการเตรียมเพื่อนำมาใช้งาน มีอุณหภูมิสูงทำให้โรงจักรไฟฟ้าทำงานโดยมีประสิทธิภาพสูง มีการดูดจับนิวตรอนน้อย ข้อเสียคือ การถ่ายเทความร้อนเลว จึงต้องใช้เชื้อเพลิงที่ให้อุณหภูมิสูง เพื่อให้มีอัตราการถ่ายเทความร้อนจากเตาปฏิกรณ์ได้มากตามต้องการ เชื้อเพลิงต้องออกแบบเป็นพิเศษทำให้เงินลงทุนสูง มีความจุความร้อนโดยปริมาตรต่ำจึงต้องใช้ปั๊มตัวใหญ่ และท่อใหญ่กว่าแบบใช้ของเหลวเป็นสารระบายความร้อน
เตาปฏิกรณ์แบบระบายความร้อนด้วยก๊าซ ใช้กับโรงจักรไฟฟ้าที่มีกำลังผลิต ตั้งแต่ 36-1,250 เมกกะวัตต์ อุณหภูมิของก๊าซระบายความร้อนอยู่ระหว่าง 638-2,400 องศาฟาเร็นไฮท์ ความดัน 95-1,200 ปอนด์/ตารางนิ้ว อุณหภูมิของไอน้ำที่ใช้ขับเครื่องกังหันอยู่ระหว่าง 597-1,000 องศาฟาเร็นไฮท์ ความดัน 146-1,450 ปอนด์/ตารางนิ้ว ใช้ยูเรเนียมเป็นเชื้อเพลิง
วงจรการทำงานเป็นไปในลักษณะเช่นเดียวกับเตาปฏิกรณ์แบบน้ำเดือดคือ จะใช้ความร้อนจากก๊าซร้อนที่ระบายออกมาจากเตาปฎิกรณ์นำไปถ่ายเทให้กับน้ำที่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน น้ำที่ไหลผ่านเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน ก็จะร้อนและกลายเป็นไอน้ำเข้าขับเครื่องกังหันให้ทำงาน
แต่การทำงานบางแบบจะใช้ก๊าซร้อนที่ออกจากเตาปฏิกรณ์แบบน้ำเดือดคือ จะใช้ความร้อนจากก๊าซร้อนที่ระบายออกมาจากเตาปฎิกรณ์นำไปถ่ายเทให้กับน้ำที่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน น้ำที่ไหลผ่านเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน ก็จะร้อนและกลายเป็นไอน้ำเข้าขับเครื่องกังหันให้ทำงาน
แต่การทำงานบางแบบจะใช้ก๊าซร้อนที่ออกจากเตาปฎิกรณ์านำไปขับเครื่องกังหันเลยทันที โดยไม่ต้องนำไปถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำที่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน ซึ่งการทำงานจะเหมือนกับเครื่องกังหันก๊าซ โดยเตาปฏิกรณ์จะทำหน้าที่เหมือนห้องเผาไหม้ ลักษณะการจัดจะมีทั้งแบบเปิดใช้อากาศธรรมดาเป็นสารระบายความร้อน และแบบปิดใช้ฮีเลียมเป็นสารระบายความร้อน

13. เตาปฎิกรณ์แบบเชื้อเพลิงของไหล (fluid fuel reactor)
เตาปฎิกรณืแบบเชื้อเพลิงของไหล ใช้เกลือยูเรเนียมฟลูออไรด์เป็นเชื้อเพลิง ใช้กราไฟท์เป็นสารหน่วงนิวตรอน และใช้โซเดียมเหลวเป็นสารระบายความร้อน ข้อดีของเตาปฏิกรณ์แบบนี้คือ สามารถนำเอากากเชื้อเพลิงออกจากเตา และเติมเชื้อเพลิงใหม่ได้ โดยไม่ต้องหยุดการทำงานของเตาปฏิกรณ์ความดันและอุณหภูมิสูงกว่าเตาปฎิกรณ์แบบต่าง ๆที่กล่าวมาแล้วทุกชนิด ไม่มีขีดจำกัดของอุณหภูมิเชื้อเพลิงที่ออกจากเตาปฏิกรณ์ ข้อเสียคือ มีการกัดกร่อนมาก โดยเฉพาะเมื่อมีการไหลเวียนของเชื้อเพลิงในวงจรตลอดเวลา และต้องออกแบบให้เตาปฏิกรณ์ทนต่อแรงดันสูง ๆ
เตาปฏิกรณ์แบบนี้ ใช้กับโรงจักรที่มีกำลังการผลิต ตั้งแต่ 1-10 เมกกะวัตต์ อุณหภูมิของสารระบายความร้อนอยู่ระหว่าง 482-1,500 องศาฟาเรนไฮท์ ความดัน 50-3,600 ปอนด์/ตารางนิ้ว อุณหภูมิของไอน้ำที่ใช้ขับเครื่องกังหัน 385-800 องศาฟาเร็นไฮท์ ความดัน 200-1,800 ปอนด์/ตารางนิ้ว
วงจรการทำงานของเตาปฎิกรณ์แบบเชื้อเพลิงของไหลคือ เชื้อเพลิงของไหล เกลือ ยูเรเนียม ฟลูออไรด์ มีความร้อนเนื่องจากเกิดปฏิกริยานิวเคลียร์ จะส่งความร้อนมาให้เครื่องสะท้อนที่อยู่รอบ ๆ ภายในเตาปฎิกรณ์ ในวงจรเชื้อเพลิงมีปั๊มทำให้เกิดการไหลวนเวียน นำเชื้อเพลิงเข้ามาที่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน เพื่อถ่ายเทความร้อนให้กับฮีเลียม ซึ่งเป็นตัวกลางในการรับความร้อนจากเชื้อเพลิงของไหล นำมาถ่ายเทให้กับน้ำที่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนอีกตัวหนึ่ง ทำให้น้ำเดือดกลายเป็นไอน้ำนำไปขับเครื่องกังหัน การใช้ฮีเลียมในวงจรกลางในการถ่ายเทความร้อน ก็เพื่อลด และป้องกันรังสีอันเกิดจากเชื้อเพลิงของไหลที่มีค่าสูง มิให้ปนเปื้อนไปกับน้ำ หรือไอน้ำที่นำไปขับเครื่องกังหัน
เนื่องจากความร้อนที่สะสมอยู่ที่เครื่องสะท้อน จำเป็นจะต้องมีการระบายออกโดยใช้สารระบายความร้อนคือ โซเดียมเหลว ซึ่งในระบบจะมีปั๊มสำหรับให้โซเดียมเหลวมีการไหลวนเวียนเหมือนเชื้อเพลิงของไหลเช่นเดียวกัน ความร้อนของโซเดียมเหลวที่รับจากเครื่องสะท้อน จะถูกนำมาถ่ายเทให้กับฮีเลียมที่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน แล้วจึงไหลกลับเข้าไปในเตาปฏิกรณ์เพื่อรับความร้อนใหม่ สำหรับฮีเลียม เมื่อรับความร้อนแล้วจะถูกเครื่องเป่าให้ไหลเข้าไปยังเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนอีกตัวหนึ่ง เพื่อถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำเลี้ยงของหม้อน้ำ หลังจากนั้นจะไหลกลับมารับความร้อนที่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนตัวเดิมอีก วนเวียนดังนี้เรื่อย ๆ ไป

14. การเลือกที่ตั้งและข้อดี-ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
การเลือกที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ มีหัวข้อที่จะต้องนำมาพิจารณาดังต่อไปนี้
1. น้ำ จะเป็นจะต้องใช้เป็นจำนวนมากเช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ ดังนั้น จะต้องตั้งให้ใกล้กับแหล่งน้ำมากที่สุด มิฉะนั้นจะต้องมีการสร้างอ่างเก็บน้ำ ซึ่งจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น
2. จุดที่ตั้งโรงไฟฟ้า จะต้องให้ห่างจากแหล่งชุมชนมากที่สุด เพราะอันตรายจากกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้น อาจมีการแพร่กระจายออกมาจากโรงไฟฟ้าได้
3. จุดศูนย์กลางโหลด จะต้องนำมาพิจารณาประกอบด้วยเช่นเดียวกัน เพราะถ้าหากโรงไฟฟ้าตั้งอยู่ไกลจากศูนย์กลางโหลดมาก จะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการสูญเสียกำลังไฟฟ้าในสายส่ง รวมทั้งค่าใช้จ่ายในด้านสายส่งจะสูงมากขึ้นด้วย
4. การกำจัดของเสีย กากเชื้อเพลิงที่เกิดจากปฏิกริยานิวเคลียร์ หลังจากใช้งานแล้ว ยังคงมีกัมมันตรังสีอยู่ในตัว และเป็นอันตรายมาก จะต้องจัดระบบการกำจัดอย่างดี ซึ่งวิธีการกำจัด สามารถทำได้โดยนำไปทิ้งทะเลลึกห่างจากฝั่งมาก ๆ หรืออาจขุดฝังไว้ใต้ดินลึก ๆ
5. ทางเข้าโรงไฟฟ้า จะต้องมีการจัดเตรียมถนนที่จะนำอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนส่วนประกอบของเตาปฎิกรณ์ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เข้าไปยังจุดที่ตั้งได้โดยสะดวก

15. ข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
1. ค่าขนส่งเชื้อเพลิงน้อยมาก เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าชนิดอื่น
2. ให้กำลังงานมาก
3. ขนาดของโรงไฟฟ้าเล็ก เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าชนิดอื่น ที่มีขนาดกำลังงาน เท่ากัน

16. ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
1. เงินลงทุนสูง
2. รังสีที่อาจเกิดขึ้นจากการรั่วไหลในบริเวณโรงไฟฟ้า และสภาวะการทำงานเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงาน
3. เตาปฎิกรณ์ไม่สามารถปรับเปลี่ยนตามสภาพการแปรค่าของโหลดได้ทันท่วงที ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานไม่ดี
4. อัตราค่าจ้างคนงานแพง เพราะจะต้องใช้คนงาน 2 ชุด โดยชุดหนึ่งจะทำงาน 6 เดือน พัก 6 เดือน เพื่อลดอันตรายที่เกิดจากการสะสมของรังสีให้อยู่ในสภาวะปกติ
5. ค่าบำรุงรักษาและค่าดำเนินงานสูง
6. ต้องมีการสำรองเชื้อเพลิง เมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติ เช่น มีปัญหาทางการเมืองหรือเกิดสงคราม อาจทำให้เชื้อเพลิงขาดแคลน หรือมีราคาสูง
7. ปัญหาในเรื่องการกำจัด ของเสีย หรือกากเชื้อเพลิง
แหล่งอ้างอิง.

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

เลนส์นูน

เลนส์นูน
อ้างอิงจากเว็บไซต์ เลนส์นูน.[ออนไลน์].เข้าถึงจาก:
http://www.maceducation.com/e-knowledge/2432209100/20.htm
เลนส์นูนเลนส์นูน (convex lens) คือ เลนส์ที่มีลักษณะหนาตรงกลางและบางที่ขอบ ดังรูป






รูปแสดงลักษณะเลนส์นูน


รูปแสดงส่วนสำคัญและรังสีบางรังสีของเลนส์เลนส์นูนทำหน้าที่รวมแสงขนานไปตัดกันที่จุดๆ หนึ่ง ซึ่งแนวหรือทิศทางของแสงที่เข้ามายังเลนส์สามารถเขียนแทนด้วยรังสีของแสง ถ้าแสงมาจากระยะไกลมากเรียกระยะนี้ว่า " ระยะอนันต์"เช่น แสงจากดวงอาทิตย์หรือดวงดาวต่างๆ แสงจะส่องมาเป็นรังสีขนาน เมื่อรังสีของแสงผ่านเลนส์จะมีการหักเหและไปรวมกันที่จุดๆ หนึ่งเรียกว่า "จุดโฟกัส (F)" ระยะจากจุดโฟกัสถึงกึ่งกลางเลนส์ เรียกว่า "ความยาวโฟกัส (f)" และเส้นตรงที่ลากผ่านจุดศูนย์กลางความโค้งของผิวทั้งสองของเลนส์เรียกว่า " แกนมุขสำคัญ (principal axis)"
ภาพที่เกิดจากเลนส์นูนภาพจากเลนส์นูนเป็นภาพที่เกิดจากรังสีหักเหไปพบกันที่จุดๆ หนึ่ง ซึ่งมีทั้งภาพจริงและภาพเสมือนขึ้นอยู่กับตำแหน่งวัตถุที่วางหน้าเลนส์ ดังรูป


(ก) การเกิดภาพเมื่อวัตถุอยู่ห่างเลนส์นูนระยะไกลกว่าความยาวโฟกัส


(ข) การเกิดภาพเมื่อวัตถุอยู่ห่างจากเลนส์นูนที่ระยะใกล้กว่าความยาวโฟกัสการหาชนิดและตำแหน่งของภาพจากวิธีการคำนวณการหาตำแหน่งภาพที่ผ่านมาใช้วิธีเขียนแผนภาพของรังสี ยังมีอีกวิธีที่ใช้หาตำแหน่งภาพคือ วิธีคำนวณ ซึ่งสูตรที่ใช้ในการคำนวณมีดังต่อไปนี้ฃ

สูตร =



เมื่อ m คือ กำลังขยายของเลนส์I คือ ขนาดหรือความสูงของภาพO คือ ขนาดหรือความสูงของวัตถุในการคำนวณหาตำแหน่งและชนิดของภาพจะต้องมีการกำหนดเครื่องหมาย 1 และ 2 สำหรับปริมาณต่างๆ ในสมการดังนี้1.s มีเครื่องหมาย + ถ้าวัตถุอยู่หน้าเลนส์ และ s มีเครื่องหมาย - ถ้าวัตถุอยู่หลังเลนส์2. s' มีเครื่องหมาย + ถ้าวัตถุอยู่หลังเลนส์ และ s' มีเครื่องหมาย - ถ้าวัตถุอยู่หน้าเลนส์3. f ของเลนส์นูนมีเครื่องหมาย + และ f ของเลนส์เว้ามีเครื่องหมาย -
ตัวอย่างที่ 2 วางวัตถุห่างจากเลนส์นูนเป็นระยะ 12 เซนติเมตร ถ้าเลนส์นูนมีความยาวโฟกัส 5 เซนติเมตร จะเกิดภาพชนิดใด และที่ตำแหน่งใด

ตัวอย่างที่ 3 วางวัตถุห่างจากเลนส์นูนเป็นระยะ 25 เซนติเมตร ปรากฏว่าเกิดภาพเสมือนห่างจากเลนส์ 15 เซนติเมตร เลนส์นี้เป็นเลนส์ชนิดใดและมีความยาวโฟกัสเท่าไรวิธีทำ จากสูตร





ค่า f เป็นลบ มีค่า 37.5 เซนติเมตร เป็นเลนส์เว้า ตอบ

คุณสมบัติของแสง

1. การสะท้อนแสง (Reflection)
2. กฎการสะท้อนแสง
3. การหักเหของแสง (Reflection)
4. กฎการหักเหของแสง
5. การกระจายแสง (Diffusion)
6. การทะลุผ่าน (Transmission)
7. การดูดกลืน (Absorbtion)
8. การแทรกสอด (Interference)
-การสะท้อนแสง (Reflection) การ สะท้อนแสง หมายถึง การที่แสงไปกระทบกับตัวกลางแล้วสะท้อนไปในทิศทางอื่นหรือสะท้อนกลับมาทิศทาง เดิมการสะท้อนของแสงนั้นขึ้นอยู่กับพื้นผิวของวัตถุด้วยว่าเรียบหรือหยาบโดย ทั่วไปพื้นผิวที่เรียบและมันจะทำให้มุมของแสงที่ตกกระทบมีค่าเท่ากับมุม สะท้อนตำแหน่งที่แสงตกกระทบกับแสงสะท้อนบนพื้นผิวจะเป็นตำแหน่งเดียวกันดัง รูปที่ 4.1 ก. ลักษณะของวัตถุดังกล่าว เช่น อลูมิเนียมขัดเงาเหล็กชุบโครเมียม ทอง เงินและกระจกเงา เป็นต้น แต่ถ้าหากวัตถุมีผิวหยาบ แสงสะท้อนก็จะมีลักษณะกระจายกันดังรูปที่ 4.1 ข. เช่น ผนังฉาบปูนกระดาษขาว โดยทั่วไปวัตถุส่วนใหญ่จะเป็นแบบผสมขึ้นอยู่กับผิวนั้นมีความมันหรือหยาบ มากกว่า จะเห็นการสะท้อนแสงได้จากรูป 4.1 ก. และรูปที่ 4.1 ข.


รูป ก.การสะท้อนแสงบนวัตถุผิวเรียบรูป ข. การสะท้อนแสงผิวขรุขระ
-กฎการสะท้อนแสง
1. รังสีตกกระทบ เส้นปกติและรังสีสะท้อนย่อมอยู่บนพื้นระนาบเดียวกัน
2. มุมในการตกกระทบย่อมโตเท่ากับมุมสะท้อน



แสดงกฎของการสะท้อนแสง
-การหักเหของแสง (Refraction) การ หักเห หมายถึง การที่แสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งทำให้แนวลำแสงเกิด การเบี่ยงเบนไปจากแนวเดิม เช่น แสงผ่านจากอากาศไปยังน้ำ ดังแสดงในรูป












รูปแสดงลักษณะการเกิดหักเหของแสง

-สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการหักเหของแสง
- ความถี่ของแสงยังคงเท่าเดิม ส่วนความยาวคลื่น และความเร็วของแสงจะไม่เท่าเดิม
- ทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงจะอยู่ในแนวเดิมถ้าแสงตำตั้งฉากกับผิวรอยต่อของ ตัวกลางจะไม่อยู่ในแนวเดิม ถ้าแสงไม่ตกตั้งฉากกับผิวรอยต่อของตัวกลาง
ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของการหักเหของแสงเช่น แผ่นปิดหน้าโคมไฟ ซึ่งเป็นกระจกหรือพลาสติก เพื่อบังคับทิศทางของแสงไฟที่ออกจากโคมไปในทิศทางที่ต้องการ จะเห็นว่าแสงจากหลอดไฟจะกระจายไปยังทุกทิศทางรอบหลอดไฟแต่เมื่อผ่านแผ่นปิด หน้าโคมไฟแล้ว แสงจะมีทิศทางเดียวกัน เช่นไฟหน้ารถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ ดังรูปที่

แสงที่ผ่านโคมไฟฟ้าหน้ารถยนต์มีทิศทางเดียวกัน

-การกระจายแสง (Diffusion)


การ กระจายแสง หมายถึง แสงขาวซึ่งประกอบด้วยแสงหลายความถี่ตกกระทบปริซึมแล้วทำให้เกิดการหักเหของ แสง 2 ครั้ง (ที่ผิวรอยต่อของปริซึม ทั้งขาเข้า และขาออก) ทำให้แสงสีต่าง ๆ แยกออกจากกันอย่างเป็นระเบียบเรียงตามความยาวคลื่นและความถี่ ที่เราเรียกว่า สเปกตรัม (Spectrum)

-รุ้งกินน้ำ เป็น การกระจายของแสง เกิดจากแสงขาวหักเหผ่านผิวของละองน้ำ ทำให้แสงสีต่าง ๆ กระจายออกจากกันแล้วเกิดการสะท้อนกลับหมดที่ผิวด้านหลังของละอองน้ำแล้วหัก เหออกสู่อากาศ ทำให้แสงขาวกระจายออกเป็นแสงสีต่าง ๆ กัน แสงจะกระจายตัวออกเมื่อกระทบถูกผิวของตัวกลาง เราใช้ประโยชน์จากการกระจายตัวของลำแสง เมื่อกระทบตัวกลางนี้ เช่น ใช้แผ่นพลาสติกใสปิดดวงโคมพื่อลดความจ้าจากหลอดไฟหรือ โคมไฟชนิดปิดแบบต่าง ๆ


ภาพรุ้งกินน้ำ




-การทะลุผ่าน (Transmission)การ ทะลุผ่าน หมายถึงการที่แสงพุ่งชนตัวกลางแล้วทะลุผ่านมันออกไปอีกด้านหนึ่ง โดยที่ความถี่ไม่เปลี่ยนแปลงวัตถุที่มีคุณสมบัติการทะลุผ่านได้ เช่น กระจก ผลึกคริสตัล พลาสติกใส น้ำและของเหลวต่าง ๆ
-การดูดกลืน (Absorbtion)การ ดูดกลืน หมายถึง การที่แสงถูกดูดกลืนหายเข้าไปในตัวกลางดยทั่วไปเมื่อมีพลังงานแสงถูกดูดกลืน หายเข้าไปในวัตถุใด ๆเช่น เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องต้มน้ำพลังงานแสง และยังนำคุณสมบัติของการดูดกลืนแสงมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกสวมใส่เสื้อผ้าสีขาวจะดูดแสงน้อยกว่าสีดำ จะเห็นได้ว่าเวลาใส่เสื้อผ้าสีดำ อยู่กลางแดดจะทำให้ร้อนมากกว่าสีขาว
-การแทรกสอด (Interference)การ แทรกสอด หมายถึง การที่แนวแสงจำนวน 2 เส้นรวมตัวกันในทิศทางเดียวกัน หรือหักล้างกัน หากเป็นการรวมกัน ของแสงที่มีทิศทางเดียวกัน ก็จะทำให้แสงมีความสว่างมากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าหักล้างกัน แสงก็จะสว่างน้อยลด การใช้ประโยชน์จากการสอดแทรกของแสง เช่น กล้องถ่ายรูปเครื่องฉายภาพต่าง ๆ และการลดแสงจากการสะท้อน ส่วนในงานการส่องสว่าง จะใช้ในการสะท้อนจากแผ่นสะท้อนแสง



สรุป

คุณสมบัติ ต่าง ๆ ของแสงแต่ละคุณสมบัตินั้น เราสามารถนำหลักการมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น คุณสมบัติของการสะท้อนแสงของวัตถุ เรานำมาใช้ในการออกแบบแผ่นสะท้อนแสงของโคมไฟ การหักเหของแสงนำ มาออกแบบแผ่นปิดหน้าโคมไฟ ซึ่งเป็นกระจก หรือพลาสติกเพื่อบังคับทิศทางของแสงไฟ ที่ออกจากโคมไปในทิศที่ต้องการ การกระจายตัวของลำแสงเมื่อกระทบตัวกลางเรานำมาใช้ประโยชน์ เช่นใช้แผ่นพลาสติกใสปิดดวงโคมเพื่อลดความจ้าจากหลอดไฟ ต่าง ๆ การดูดกลืนแสง เรานำมาทำ เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ครื่องต้มพลังงานแสง และการแทรกสอดของแสง นำมาใช้ประโยชน์ในกล้องถ่ายรูป เครื่องฉายภาพต่าง ๆ จะเห็นว่าคุณสมบัติแสงดังกล่าวก็ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เราทั้ง นั้น




วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กล้องจุลทรรศน์











1. กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)
กล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เรามองเห็นวัตถุที่มีขนาดเล็กมาก ประกอบด้วยเลนส์นูนความยาวโฟกัสสั้น ๆ 2 อัน โดยเลนส์อันหนึ่งอยู่ใกล้วัตถุเรียกว่าเลนส์ใกล้วัตถุ (Objective Lens) และเลนส์อันหนึ่งอยู่ใกล้ตาเรียกว่าเลนส์ใกล้ตา(Eyepiece Lens) โดยความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุน้อยกว่าความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้ตาได้ภาพจริงขนาดขยายอยู่หน้าเลนส์ใกล้ตาโดยจะเป็นวัตถุเสมือนของเลนส์ใกล้ตา โดยวัตถุเสมือนนี้ จะต้องอยู่ระหว่างความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุกับเลนส์ เกิดภาพเสมือนขนาดขยายที่ระยะที่เห็นชัดปกติของตา คือประมาณ 25 เซนติเมตร โดยในทาง ปฏิบัติวิธีทำให้เห็นภาพชัดเรียกว่าการโฟกัสภาพทำได้โดยเลื่อนเลนส์ใกล้ตาเพื่อปรับระยะวัตถุให้เหมาะสมที่จะเกิดภาพที่ระยะเห็นได้ชัดเจน







2. ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์
1. ฐาน (Base) เป็นส่วนที่ใช้วางบนโต๊ะ
2. แขน (Arm) เป็นส่วนเชื่อมตัวลำกล้องกับฐาน
3. ลำกล้อง (Body tube) เป็นส่วนที่ปลายด้านบนมีเลนส์ตา ส่วนปลายด้านล่างติดกับเลนส์วัตถุ ซึ่งติดกับแผ่นหมุนได้ เพื่อเปลี่ยนเลนส์ขนาดต่างๆ
4. ปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพโดยเปลี่ยนระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ (เลื่อนลำกล้องหรือแท่นวางวัตถุขึ้นลง) เพื่อทำให้เห็นภาพชัดเจน
5. ปุ่มปรับภาพละเอียด (Fine adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพ ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น
6. เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) เป็นเลนส์ที่อยู่ใกล้กับแผ่นสไลด์ หรือวัตถุ ปกติติดกับแป้นวงกลมซึ่งมีประมาณ 3-4 อัน แต่ละอันมีกำลังบอกเอาไว้ เช่น x3.2, x4, x10, x40 และ x100 เป็นต้น ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ
7. เลนส์ใกล้ตา (Eye piece) เป็นเลนส์ที่อยู่บนสุดของลำกล้อง โดยทั่งไปมีกำลังขยาย 10x หรือ 15x ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดภาพที่ตาผู้ศึกษาสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ
8. เลนส์รวมแสง (Condenser) ทำหน้าที่รวมแสงให้เข้มขึ้นเพื่อส่งไปยังวัตถุที่ต้องการศึกษา
9. กระจกเงา (Mirror) ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟภายในห้องให้ส่องผ่านวัตถุ โดยทั่วไปกระจกเงามี 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นกระจกเงาเว้า อีกด้านเป็นกระจกเงาระนาบ สำหรับกล้องรุ่นใหม่จะใช้หลอดไฟเป็นแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งสะดวกและชัดเจนกว่า
10. ไดอะแฟรม (Diaphragm) อยู่ใต้เลนส์รวมแสงทำหน้าที่ปรับปริมาณแสงให้เข้าสู่เลนส์ในปริมาณที่ต้องการ
11. แท่นวางวัตถุ (Speciment stage) เป็นแท่นใช้วางแผ่นสไลด์ที่ต้องการศึกษา
12. ที่หนีบสไลด์ (Stage clip) ใช้หนีบสไลด์ให้ติดอยู่กับแท่นวางวัตถุ ในกล้องรุ่นใหม่จะมี Mechanical stage แทนเพื่อควบคุมการเลื่อนสไลด์ให้สะดวกขึ้น
3. กล้องโทรทัศน์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูวัตถุที่อยู่ไกล ประกอบด้วยเลนส์ 2 เลนส์ มี 2 ประเภท คือ
ก. กล้องโทรทรรศน์หักเห (Refracting telescope) ใช้เลนส์นูนเป็นเลนส์ใกล้วัตถุมีความยาวโฟกัสมากอาจจะถึงหลาย ๆ เมตร เนื่องจากวัตถุที่ต้องการดูอยู่ไกล มากดังนั้นภาพที่เกิดจึงตกที่จุดโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุเป็นวัตถุเสมือนของเลนส์ใกล้ตาโดยใช้เลนส์เว้าหรือเลนส์นูนเป็นเลนส์ใกล้ตาก็ได้ วัตถุเสมือนนี้จะอยู่ระหว่างจุดโฟกัส ของเลนส์ใกล้ตากับเลนส์ ดังนั้นภาพสุดท้ายที่เกิดขึ้นจะได้ภาพเสมือนขนาดขยาย
ข. กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง (Reflecting telescope) ใช้กระจกเว้ารูปพาราโบลาที่ไม่มีความคลาดเป็นตัวสะท้อนแสงใกล้วัตถุ ภาพที่ได้เกิดขึ้นที่ จุดโฟกัสใช้กระจกนูนเป็นตัวสะท้อนครั้งที่สอง เกิดภาพเสมือนนาดขยาย
กล้องดาราศาสตร์เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ประกอบด้วยเลนส์นูน 2 อัน เลนส์ใกล้วัตถุจะรับแสงสะท้อนจากวัตถุที่ระยะอนันต์ เกิดภาพจริงหัวกลับที่จุดโฟกัสของเลนส์ ใกล้วัตถุแต่อยู่ในระยะที่น้อยกว่าโฟกัสของเลนส์ใกล้ตา ได้ภาพเสมือนขนาดขยาย ความยาวของกล้องเท่ากับความยาวโฟกัสของเลนส์ทั้งสอง

4. การใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ( Light microscope)
1.วางกล้องให้ฐานอยู่บนพื้นรองรับที่เรียบสม่ำเสมอเพื่อให้ลำกล้องตั้งตรง
2.หมุนเลนส์ใกล้วัตถุ ( objective lens )อันที่มีกำลังขยายต่ำสุดมาอยู่ตรงกับลำกล้อง
3.ปรับกระจกเงาใต้แท่นวางวัตถุให้แสงเข้าลำกล้องเต็มที่
4.นำสไลด์ที่จะศึกษาวางบนแท่นของวัตถุ ให้วัตถุอยู่กึ่งกลางบริเวณที่แสงผ่านแล้วค่อยๆ หมุนปุ่มปรับภาพหยาบ(coarse adjustment knob)ให้ลำกล้องเลื่อนลงมาอยู่ใกล้วัตถุมากที่สุด โดยระวังงอย่าให้เลนส์ใกล้วัตถถุสัมผัสกับกระจกปิดสไลด์
5.มองผ่านเลนส์ใกล้ตา (eyepiece)ลงตามลำกล้อง พร้อมกับหมุนปุ่มปรับภาพหยาบขึ้นช้าๆ จนมองเห็นวัตถุที่จะศึกษา แล้วจึงเปลี่ยนมาหมุนปรับปุ่มภาพละเอียด(fine adjustment knob)เพื่อปรับภาพให้ชัด อาเลื่อนสไลด์ไป มาช้าๆ เพื่อให้สิ่งที่ต้องการศึกษามาอยู่กลางแนวลำกล้อง ขณะปรับภาพ ถ้าเป็นกล้องสมัยก่อนลำกล้องจะเคลื่อนที่ขึ้นและลงเข้าหาวัตถุ แต่ถ้าเป็นกล้องสมัยใหม่แท่นวางวัตถุจะทำหน้าที่เลื่อนขึ้นลงเข้าหาเลนส์วัตถุ
6.ถ้าต้องการขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น ให้หมุนเลนส์ใกล้วัตถุอันที่มีกำลังขยายสูงขึ้นเขข้ามาในแนวลำกล้อง และไม่ควรขยับสไลด์อีก แล้วหมุนปรับภาพละเอียดเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
7.การปรับแสงที่เข้าในลำกล้องให้มากหรือน้อย ให้หมุนแผ่นไดอะแฟรม (diaphram) ปรับแสงตามต้องการกล้องจุลทรรศน ์ ที่ใช้กันในโรงเรียนจะมีจำนวนเลนส์ใกล้วัตถุต่างๆ กันไปเช่น 1 อัน 2 อัน หรือ 3 อัน และมีกำลังขยายต่างๆกันไป อาจเป็น กำลังขยายต่ำสุด x4 กำลังขยายขนาดกลาง x10 กำลังขยายขนาดสู’งx40, x80 หรือที่กำลังขยายสูงมากๆ ถึงx100 ส่วนกำลังขยาย ของเลนส์นั้นโดยทั่วไปจะเป็นx10 แต่ก็มีบางกล้องที่เป็นx5 หรือx15 กำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์คำนวณได้จาก ผลคูณของกำลังขยายขอองเลนส์ใกล้วัตถุกับกำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา ซึ่งมีกำกับไว้ที่เลนส์

5. การระวังรักษากล้องจุลทรรศน์
เนื่องจากกล้อองจุลทรรศน์เป็นอุปกรณืที่มีราคาสูงและมีส่ววนประกอบที่อาจเสียหายง่าย โดยเฉพาะเลนส์ จึงต้องใช้และเก็บรักษาด้วยความระมัดระวังให้ถูกวิธี ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้
1.การยกกล้อง ควรใช้มือหนึ่งจับที่แขนกล้อง (arm) และอีกมือหนึ่งวางที่ฐาน(base) และต้องให้ลำกล้องตั้งตรงเสมอ เพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดของเลนส์ใกล้ตา ซึ่งสามารถถอดออกได้ง่าย
2.สไลด์และกระจกปิดสไลด์ต้องไม่เปียก เพราะอาจทำให้แท่นวางเกิดสนิม และทำให้เลนส์ใกล้วัตถุชื้นอาจเกิดราที่เลนส์ได้
3.ขณะที่ตามองผ่านเลนส์ใกล้ตา เมื่อจะต้องหมุนปุ่มปรับภาพหยาบ ต้องหมุนขึ้นเท่านั้น ห้ามหมุนลง เพราะเลนส์ใกล้ตาอาจกระทบกระจกสไลด์ทำให้เลนส์แตกได้
4.การหาภาพต้องเริ่มต้นด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยายต่ำสุดก่อนเสมอ เพราะปรับหาภาพสะดวกที่สุด
5.เมื่อใช้เลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายสูง ถ้าจะปรับภาพให้ชัดให้หมุนเฉพาะปุ่มปรับภาพละเอียดเท่านั้น
6.ห้ามใช้มือแตะเลนส์ ในการทำความสะอาดให้ใช้กระดาษสำหรับเช็ดเลนส์เท่านั้น
7.เมื่อใช้เสร็จแล้วต้องเอาวัตถุที่ศึกษาออก เช็ดแท่นวางวัตถุและเช็ดเลนส์ให้สะอาด